Last updated: 4 ก.ย. 2567 | 894 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อกล่องพัสดุหรือกล่องไปรษณีย์สินค้าที่เราช็อปปิ้งออนไลน์มาส่งถึงหน้าประตูบ้าน เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงตื่นเต้นดีใจรีบคว้ามาแกะกล่องเปิดดูข้างในทันที แต่ทราบหรือไม่ว่ากล่องพัสดุสวยๆ ที่ได้รับนั้นมีรูปแบบที่ร้านค้าออนไลน์นิยมใช้บ่อย ๆ มีอยู่ 3 รูปแบบ โดยกล่องไปรษณีย์แต่ละรูปแบบนั้นมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป
Cr. photo: ไปรษณีย์ไทย
กล่องพัสดุ – ฝาชน
กล่องพัสดุหรือกล่องไปรษณีย์รูปทรงฝาชนเป็นกล่องที่ร้านค้าส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้ เพราะมีต้นทุนที่ต่ำสุดเทียบกับ 3 รูปแบบในบทความนี้ ตัวกล่องออกแบบมาเปิด-ปิดง่าย ใช้งานได้สะดวก กล่องรูปแบบนี้เป็นกล่องพัสดุที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ข้อเสียของกล่องประเภทนี้คือต้องเสียเวลาในการขึ้นรูปขณะแพ็คของ และต้องใช้เทปกาวปิดที่ส่วนหัวและส่วนก้นของตัวกล่อง
• ข้อดี – แข็งแรง ราคาถูก
• ข้อเสีย – ต้องใช้เทปพลาสติกใสในการช่วยปิดกล่อง
Cr. photo: ไปรษณีย์ไทย
กล่องพัสดุ – ไดคัทฝาเสียบ
กล่องไดคัทฝาเสียบเป็นกล่องพัสดุที่เริ่มเป็นที่นิยมในช่วงหลัง ๆ ไม่นานมากนี้ เป็นกล่องที่ดูมีความแน่นหนาและปิดมิดชิดมากกว่ากล่องฝาชน สามารถจัดส่งผ่านแมสเซนเจอร์ได้อย่างสะดวกสบาย ลดการปิดเทปกาวลงเฉพาะบริเวณฝาเสียบของตัวกล่อง อีกทั้งยังเหมาะกับการส่งไปรษณีย์ระยะไกล
• ข้อดี – แข็งแรง รูปทรงสวย เหมาะพิมพ์ได้ทั้งภายนอก-ภายในกล่อง
• ข้อเสีย – ต้องใช้เทปพลาสติกใสในการช่วยปิดกล่อง
Cr. Photo: ไปรษณีย์ไทย
กล่องพัสดุ – ไดคัทหูช้าง
กล่องไดคัทหูช้างเป็นกล่องไปรษณีย์หรือกล่องพัสดุพรีเมี่ยม โดยกล่องกล่องไปรษณีย์หรือกล่องพัสดุประเภทนี้จะมีความมิดชิดที่สุดเมื่อเทียบกับกล่องทั้ง 3 รูปแบบ อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกง่ายดาย เพียงแค่ขึ้นรูปกล่องก็สามารถใส่ของลงไปในกล่องได้เลย กล่องไปรษณีย์ประเภทนี้ก็สามารถจัดส่งผ่านแมสเซนเจอร์ได้อย่างสะดวกสบายด้วยเช่นเดียวกันโดยลดการปิดเทปพลาสติกลง และสามารถส่งไปรษณีย์ได้ทั่วประเทศเช่นเดียวกัน
• ข้อดี – แข็งแรง รูปทรงพรีเมี่ยม เหมาะพิมพ์ได้ทั้งภายนอก-ภายในกล่อง
• ข้อเสีย – ราคาแพงกว่ากล่องฝาเสียบ
กล่องพัสดุโดยทั่ว ๆ ไปนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ กล่องฝาชน ไดคัทหูเสียบ ไดคัทหูช้าง ซึ่งมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามการออกแบบดีไซน์ให้เหมาะสมกับการเกิดใช้งาน ทีนี้ก็คงไม่มีใครสงสัยแล้วว่ากล่องพัสดุซื้อที่ไหนและมีรูปแบบไหนบ้าง.......
5 ส.ค. 2567
19 ก.ค. 2567
2 ส.ค. 2567
4 ก.ย. 2567