Last updated: 4 ก.ย. 2567 | 188 จำนวนผู้เข้าชม |
การเตรียมไฟล์งานสำหรับพิมพ์
การออกแบบต้องให้ความสำคัญ หากมีการออกแบบที่ผิดเพี้ยนไปเล็กน้อยอาจทำให้งานในทุกๆ ขั้นตอนนั้นไม่สามารถที่จะเป็นไปตามที่ได้วางไว้ได้ สิ่งที่สำคัญเลยที่เราต้องมีการเตรียมไฟล์งาน เพื่อส่งให้กับทางโรงพิมพ์
การที่เรามีการเตรียมไฟล์งานอย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือได้นั้นแน่นอนก็จะทำให้การจัดทำในสิ่งต่าง ๆ นั้นก็จะเป็นไปตามเป้าหมายที่เราได้กำหนดไว้นั่นเอง โดยมันสามารถที่จะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ในการตรวจเช็คได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
01-โหมดของสีไฟล์งาน
เราควรตั้งไฟล์งานให้อยู่ในหมวด CMYK ซึ่งใน photoshop ควรตั้งค่าที่โหมดสีก่อนในขั้นตอนที่เราตั้งกระดาษ อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่ใช้โปรแกรม lllustrator ก็อย่าลืมตั้งด้วยนะครับ เพราะบางทีหลาย ๆ คนก็มั่นใจในตัวโปรแกรมมากจนเกินไปดังนั้นก็ควรที่จะเช็คให้รอบคอบเสียก่อนเพื่อที่งานของเรานั้นจะได้ออกมาดีและตรงกับความต้องการ
02-ตั้งค่าความละเอียดของไฟล์ (File Resolution)
ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ก่อนจะส่งงานให้โรงพิมพ์ ควรตรวจสอบ Resolution ก่อน ซึ่งมีหน่วยวัดเป็น DPI (Dots Per Inch) หรือ PPI (Pixels Per Inch) ยิ่ง DPI หรือ PPI มาก ความละเอียดและความคมชัดของภาพยิ่งสูงขึ้นตาม ซึ่งภาพที่แสดงบนจอจะมี Resolution อยู่ที่ 72 DPI แต่ถ้าเป็นงานสิ่งพิมพ์นั้นควรใช้ Resolution อยู่ที่ 300 DPI ภาพที่ได้ออกมาจะมีความคมชัดและให้รายละเอียดที่ดี
03-ระยะของขอบกระดาษ
ควรที่จะมีการวัด ระยะขอบ (Margin) ให้พอดีกับชิ้นงาน เพื่อที่ชิ้นงานที่เราออกแบบนั้นมีความเรียบร้อย การตั้งค่าในส่วนนี้ตั้งได้จากตัวโปรแกรมเลย อย่างไรก็ตามหลาย ๆ คนก็ยังคงจะงงกับระยะขอบและระยะตัดตกกันอยู่ ซึ่งระยะขอบนั้นควรวางตัวหนังสือหรือรูปที่ต้องการพิมพ์ไว้ใน พื้นที่ปลอดภัย (Safe zone) คือจะอยู่ด้านในของชิ้นงาน (Artboard) เข้ามาสัก 3-4 มม. เพราะจะปลอดภัยต่อการคลาดเคลื่อนในการตัดชิ้นงาน
ส่วน ระยะตัดตก (Bleed) นั้น เป็นอีกหนึ่งระยะที่เราควรทราบไว้เพื่อเผื่อพื้นหลังชิ้นงาน (ฺBackground) ให้ใหญ่กว่า Artboard สัก 3-4 มม. เพื่อกันการเกิดขอบขาวหลังพิมพ์และความคลาดเคลื่อนในการตัดชิ้นงาน
ดังนั้นในการออกแบบทุกครั้งก็ควรที่จะตรวจเช็คในส่วนนี้ให้ดี ๆ เสียหน่อยนะครับเพื่อที่งานออกแบบของเรานั้นจะได้ออกมาตรงกับความต้องการนั่นเอง
04-ฟอนต์ต่าง ๆ
ควรส่งฟอนต์ในการออกแบบมาด้วย ซึ่งถ้าหากฟอนต์ที่เราออกแบบไม่มีอยู่ในร้านจะทำให้เกิดปัญหาได้ เลือกฟอนต์ให้เหมาะสมกับชิ้นงานของเรานั่นเอง
ดังนั้นก็อย่าลืมนะครับ เวลาที่เราส่งไฟล์งานให้กับทางโรงพิมพ์ก็จำเป็นที่จะต้องแปลงฟอนต์ตัวอักษรให้เป็น วัตถุ (Object) หรือที่เรียกว่า create font ก่อนเซฟไฟล์งานทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ฟอนต์ตัวอักษรเพี้ยน แต่โปรดจำไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณทำการแปลงแล้วนั้น จะไม่สามารถแก้ไขตัวอักษรนั้นได้อีก ก่อนการจัดส่งไฟล์งานในแต่ละครั้งก็ควรที่จะตรวจสอบ และตรวจเช็คไฟล์งานของเราอีกครั้งด้วย เพื่อที่จะได้เช็ความถูกต้องและจะไม่มีความผิดพลาดต่อไปนั่นเอง
05-การฝังไฟล์รูปภาพ
การฝังไฟล์รูปภาพ หรือใส่ลิงค์รูป (Include Linked Files) ในไฟล์งาน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการเปิดไฟล์งานแล้วโปรแกรมถามหารูป หรือรูปสูญหาย เนื่องจากเราไม่ได้แนบไฟล์รูปไปให้ด้วย แต่ถ้าหากเราได้ทำการฝังไฟล์รูปภาพแล้ว ปัญหาแบบนี้ก็จะไม่เกิด ข้อควรระวัง การฝังไฟล์ จะเหมาะกับไฟล์งานเล็ก ๆ แต่ถ้าไฟล์งานใหญ่ไม่ควรฝังไฟล์ ควรแนบไฟล์รูปไปให้ด้วยมากกว่า เนื่องจากจะทำให้ไฟล์หนักเกินไป
06-การกำหนดหรือการเซฟไฟล์งาน
ควรที่จะเซฟไฟล์งานให้สมเหตุสมผลกับความเป็นจริง ซึ่งถ้าเราทำมาดี จัดวางมาดี รับรองเลยว่างานออกแบบของเราก็จะเป็นที่ยอมรับและจะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะประทับใจกันอย่างแน่นอนนั่นเอง
อย่างไรก็ตามนั้นในการที่เราจะส่งไฟล์งานให้กับทางโรงพิมพ์ในส่วนของการเซฟไฟล์งานนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มันมีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยนะครับ เพราะถ้าเราทำมาดีจริง ๆ งานที่เราต้องการที่เราได้ออกแบบมานั้นก็จะมีความสวยและสมบูรณ์เป็นอย่างมากอีกด้วย
สรุป
เอาเป็นว่าในการเตรียมไฟล์งานสำหรับงานพิมพ์นั้นก็จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ดี การทำงานต่าง ๆ ก็จะสามารถทำให้ทางโรงพิมพ์ทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามงานออกแบบที่ดีก็จะต้องมีความเตรียมพร้อมดังขั้นตอนดังกล่าว ถึงแม้ในการเตรียมไฟล์งานนั้นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากไปเสียหน่อยแต่รับรองเลยแหละครับถ้าออกแบบมาดีจริง สด มีความใหม่ งานพิมพ์ต่าง ๆ ของเราก็จะออกมาดีด้วยนั่นเอง.......
Cr. fastbox.com
Cr. hero-print.com
Cr. jalearnmedia.com
10 ก.ค. 2567
13 ก.ค. 2567
11 ก.ค. 2567
11 ก.ค. 2567